Untitled design (2)

The 6th BAs National Conference 2024
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (ในความร่วมมือ 5 สถาบัน)
วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

เกี่ยวกับโครงการ

หลักการและเหตุผล

        แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environmental, Social, Governance: ESG) กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั้งจากบริษัทจดทะเบียนและนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะนักลงทุนจากต่างประเทศต่างก็ให้ความสำคัญกับการลงทุนในบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนทั้งของกิจการและสังคมโดยรวมมากขึ้น เพราะสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ และแสวงหาผลตอบแทนที่ไม่ใช่อยู่ในรูปของผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ยังคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลของกิจการด้วย เมื่อการดำเนินธุรกิจรูปแบบเดิมที่มุ่งเน้นเฉพาะผลกำไรและการลดต้นทุน อาจไม่ตอบโจทย์กับบริบทของโลกยุคปัจจุบันและยุคต่อจากนี้ได้อีกต่อไป ธุรกิจจึงจำเป็นจะต้องหาทางรอดและปรับตัวเพื่อให้สามารถเติบโตไปได้อย่างเกื้อกูลแก่ทุกฝ่ายและสร้างผลตอบแทนได้อย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของกรอบแนวคิดที่ใช้ขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งได้เริ่มมีบทบาทและได้รับการยอมรับมากขึ้นในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงประเด็นพื้นฐานใน 3 มิติที่สำคัญ ได้แก่ มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental : E) คือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการรักษาและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ มิติสังคม (Social : S) คือ การบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม คำนึงถึงสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพของพนักงาน ไปจนถึงลูกค้า ชุมชน และผู้ที่ทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และมิติธรรมาภิบาล (Governance : G) คือ การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ต่อต้านการทุจริต มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และดูแลผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทอย่างเป็นธรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนภาพลักษณ์ของการดำเนินธุรกิจของกิจการในระยะยาว เพราะหากบริษัทไหนมีความโดดเด่นในด้าน ESG นั้นย่อมหมายความว่า บริษัทนั้น ๆ มีกลยุทธ์ รูปแบบการดำเนินธุรกิจ และกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ได้มาตรฐานทั้งในเชิงคุณภาพ (คำนึงถึงมิติทางด้าน ESG) และเชิงปริมาณ (ผลประกอบการเติบโตอย่างยั่งยืน) อย่างแท้จริง

        คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จึงรวมกับภาคีเครือข่ายทั้ง 5 สถาบัน จัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ Creating Social Impact through ESG เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านมุมมอง ESG ตลอดจน เพื่อเผยแพร่ผลงานในศาสตร์ทางด้านบริหารธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ให้มีความเข็มแข็งภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ นักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความรู้ในการพัฒนาผลงานวิจัยรับใช้สังคมต่อไป

ผู้รับผิดชอบหลัก

คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Faculty of Business Administration for Society, Srinakharinwirot University

สถาบันเจ้าภาพร่วม

  • วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

College of Graduate Study in Management, Khon Kaen University

  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

Faculty of Business Economics and Communications, Naresuan University

  • คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

KMITL Business School, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุุรี

Business Administration, Mahidol University Kanchanaburi Campus

วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาอาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิจัย นักวิชาการ ของสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีเวทีทางด้านวิชาการในนำเสนอผลงาน และเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน
  • เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านมุมมอง ESG
  • เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาศาสตร์ต่างๆ ทางด้านบริหารธุรกิจ

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม  2567

สถานที่ดำเนินโครงการ

ช่วงเช้า : หอดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี 1 (หอประชุมใหญ่) ชั้น 4 ศูนย์ศิลปกรรมแห่งประเทศไทย

            อาคารนวัตกรรม : ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

            และถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live

ช่วงบ่าย : ชั้น 16 คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

             และในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม ZOOM

รูปแบบการประชุมวิชาการ

การประชุมวิชาการระดับชาติในสถานที่จัดงาน (Onsite) ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ช่วงเช้า :   พิธีเปิดโครงการ และการบรรยายพิเศษ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Keynote Speakers)  

ช่วงบ่าย :  การนําเสนอผลงานแบบบรรยาย (Oral Presentation) ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM และจัดเตรียม PowerPoint ประกอบการนำเสนอ โดยใช้เวลาการนำเสนอบทความละไม่เกิน 10 นาที และตอบคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ทั้งนี้การนำเสนอผลงานจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ  และจัดสรรจำนวนห้องนำเสนอผลงานตามความเหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายในการจัดงาน The 6th BAs National Conference 2024 การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (ในความร่วมมือ 5 สถาบัน) ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย บุคคลทั่วไป จากสถาบันในเครือข่ายความร่วมมือ และบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ที่ดำเนินการด้านวิจัย ด้านบริการวิชาการรับใช้สังคม ตลอดจนบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร รวมจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 300 คน

ขอบข่ายการนำเสนอผลงาน

  • ผลงานที่นำเสนอต้องเป็นผลงานวิจัยระดับปริญญาเอก หรือปริญญาโท หรือการค้นคว้าอิสระระดับปริญญาโทของผู้สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษา หรือผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันการศึกษาทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน ที่ไม่เคยเผยแพร่ในการประชุมวิชาการ หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ใดมาก่อน
  • ขอบข่ายการนำเสนอผลงานทางด้านบริหารธุรกิจในกลุ่มสาขาต่างๆ ดังต่อไปนี้ การบัญชี การเงินการธนาคาร การตลาด  การจัดการ การท่องเที่ยวและการโรงแรม  ธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจเพื่อสังคม โลจิสติกส์  ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ จริยธรรมทางธุรกิจ ผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดย่อม (SMEs) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ พฤติกรรมองค์กร การจัดการเชิงกลยุทธ์  เศรษฐศาสตร์ การสื่อสาร และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

อัตราค่าลงทะเบียนการนำเสนอบทความ

            ฟรี (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

จำนวนบทความ

  • จำนวน 60 บทความ

การพิจารณาผลงาน กำหนดการรับบทความ และรางวัลการนำเสนอผลงานระดับดีเด่น

  • การพิจารณาผลงาน

                การพิจารณาคัดเลือกผลงาน บทความทุกบทความจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาความถูกต้องของบทความจากผู้ประเมินบทความ (Peer Review) ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ อย่างน้อย 2 ท่าน โดยใช้วิธีการประเมินแบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อของแต่ละฝ่าย (Double Blinded Review) ทั้งนี้หากผู้ประเมินบทความมีข้อเสนอแนะให้ผู้นำเสนอบทความปรับปรุงหรือแก้ไขบทความเพิ่มเติม ผู้นำเสนอจะต้องดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน หลังจากได้รับผลการประเมินเพื่อรวบรวมจัดทำเล่มรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) หรือในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยผู้นำเสนอผลงานจะต้องนำเสนอผลงานด้วยตนเองในวันจัดงาน หากไม่เข้าร่วมนำเสนอตามกำหนดเวลาจะถือว่าบทความนั้นไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในครั้งนี้ โดยการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดในทุกกรณี

กำหนดการรับบทความ

กิจกรรม

ระยะเวลา

ลงทะเบียนนำเสนอผลงาน และส่งบทความ

1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2567

ประกาศรายชื่อผู้นำเสนอผลงาน

4 มิถุนายน 2567

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ

1 – 16 มิถุนายน 2567

แจ้งผลการพิจารณาบทความ

17 มิถุนายน 2567

ส่งบทความฉบับแก้ไข

24 มิถุนายน 2567

ประกาศผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมนำเสนอ

26 มิถุนายน 2567

การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน

5 กรกฎาคม 2567

หมายเหตุ: การนำเสนอผลงานภาคบรรยายเท่านั้น (ไม่มีการนำเสนอแบบโปสเตอร์)

 

การรับสมัคร และการจัดส่งบทความ

  1. ลงทะเบียนเพื่อส่งบทความทาง https://conference.bas.swu.ac.th/ โดยกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด และแนบไฟล์บทความทั้งไฟล์ Word และ pdf
  2. การเตรียมต้นฉบับบทความ จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ซึ่งมีรายละเอียดตามรูปแบบที่กำหนด ส่งไฟล์บทความฉบับสมบูรณ์ (ไม่เกิน 15 หน้า) มาทาง E-mail: bascon@g.swu.ac.th เมื่อทางผู้จัดงานได้รับเอกสารทั้งหมดแล้ว กองบรรณาธิการและคณะกรรมการฝ่ายนำเสนอผลงานจะตอบข้อความยืนยันกลับให้ผู้นำเสนอผลงานทราบ

          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานบริการการศึกษา คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เลขที่ 114 ซอยสุขุมวิท23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์ 0 2649 5000 ต่อ 11756 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) : bascon@g.swu.ac.th

          การพิจารณารางวัลการนำเสนอผลงานภาคบรรยาย ระดับดีเด่น

เกณฑ์การตัดสินการพิจารณาการนำเสนอผลงาน “รางวัลการนำเสนอผลงานยอดเยี่ยม (Best Oral Presentation Award)” ต้องเป็นบทความที่มีคุณภาพตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Peer Review) และผู้นำเสนอจะต้องเข้าร่วมการนำเสนอผลงานในวันที่จัดการประชุม รวมทั้งส่งบทความฉบับเต็มที่แก้ไขสมบูรณ์แล้วให้แก่คณะกรรมการภายในวัน เวลาที่กำหนดไว้ ร่วมกับการพิจารณาให้คะแนนของผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์การนำเสนอผลงานประจำห้อง (Session Chair) และการตัดสินของคณะกรรมการจัดงานถือเป็นที่สิ้นสุด ดังต่อไปนี้

  • เนื้อหามีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นลำดับ
  • การนำเสนอมีความน่าสนใจ การใช้ภาษาถูกต้อง ชัดเจน บุคลิกภาพ และการรักษาเวลาในการนำเสนอ
  • สื่อที่ใช้ในการนำเสนอมีความน่าสนใจ ถูกต้อง การใช้รูปภาพและกราฟมีความเหมาะสมและถูกต้องทางวิชาการ
  • การตอบข้อซักถามonfere

(ร่าง) กำหนดการ The 6th BAs National Conference 2024
การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (ในความร่วมมือ 5 สถาบัน)
ในหัวข้อ Creating Social Impact through ESG
การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านมุมมอง ESG
ในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567
ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

เวลา กำหนดการ
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น.

พิธีเปิดโครงการ ณ หอดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี 1 (หอประชุมใหญ่) ชั้น 4 ศูนย์ศิลปกรรมแห่งประเทศไทย อาคารนวัตกรรม : ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ ถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live

– กล่าวรายงาน และแนะนำเครือข่ายความร่วมมือ 5 สถาบัน

§  คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

§  วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

§  คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

§  คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

§  สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี

     โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันติ เติมประเสริฐสกุล

ตำแหน่ง คณบดีคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

– กล่าวต้อนรับ และเปิดงาน

     โดย: รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล

            ตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

09.30 – 10.30 น. การบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Creating Social Impact through ESG การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านมุมมอง ESG
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.45 – 11.45 น. การบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ Creating Social Impact through ESG การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมผ่านมุมมอง ESG
11.45 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 21 อาคารนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี
13.00 – 16.00 น. การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (Oral Presentation) ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom
16.00 – 16.30 น.

พิธีปิดโครงการ The 6th BAs National Conference 2024

การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (ในความร่วมมือ 5 สถาบัน)

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเหมาะสม